Guss Damn Good : media ใหม่ที่กินได้

เราเชื่อว่า Guss Damn Good คงเป็นไอศครีมเจ้าโปรดในดวงใจของหลายๆคน
นอกจากความอร่อยที่ลงตัว คุณภาพที่ไม่ประนีประนอมหรือไม่พยายามลดต้นทุนแล้วนั้น
creative communication ก็เป็นอีกความโดดเด่นที่อยู่ในทุกมุมของ Guss Damn Good ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อ การออกแบบเมนู เรื่องราวต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เราประทับใจเป็นอย่างมาก จนต้องขอเขียนถึงซะหน่อย…

/ การตั้งชื่อและการสื่อสารเพื่ออธิบายรสชาติ /

เครดิตภาพจาก : www.th.tripadvisor.com

เราเพลิดเพลินกับการอ่านชื่อที่เขาตั้ง ที่บอกใบ้ถึงเรื่องราวและส่วนผสมที่อยู่ในนั้นเสมอ เช่น Sleepy Potion คือ รส Horlick + Malt  ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการดื่ม Horlick ก่อนนอนจะช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น โดยเราจะสะดุดที่ชื่อเพราะๆก่อน แล้วชื่อนั้นจะเริ่มทำให้เรารู้สึกอยากรู้ ว่ามันจะสื่อถึงรสชาติอะไรกันนะ

เราจะไล่อ่านส่วนผสมของไอศครีมถ้วยนั้น แล้วเชื่อมโยงมันเข้ากับชื่อรสที่ถูกตั้ง อีกทั้งยังมี keywords ที่ช่วยอธิบายรสชาติให้เราจินตนาการไปด้วยว่า รสชาติหรือความรู้สึกของการกินไอศครีมรสนี้จะเป็นประมาณไหน  เช่น Milky / Malty / Creamy

เครดิตภาพจาก www.facebook.com/gussdamngood

แค่การตั้งชื่อ มันก็นำพาให้เราสนใจอยากกินได้มากกว่าการอ่านชื่อรสชาติทั่วๆไปอย่างการบอกตรงไปตรงมาว่านี่คือ Horlick + Malt ทั้งที่จริงๆแล้วก็คือรสเดียวกันนั่นเอง แต่การตั้งชื่อที่ดีช่วยทำให้มันดูอร่อยละมีเสน่ห์มากขึ้น

/ การใช้สีและการออกแบบ /

ในมุมของลูกค้า พอเราเห็นร้านไอศครีมสีดำ แล้วเห็นสีสันที่หลากหลายจากบนฝาถ้วยไอศครีม มันทำให้สายตาเราไปจับจ้องอยู่ที่ตรงนั้นทันที เหมือนเป็น background สีดำ ที่ช่วยขับให้ product เด่นขึ้นมา หากเราลองดูลายที่ฝาแล้ว เราจะพบว่ามันเป็นสีที่ express รสชาติและความรู้สึกจากภายในถ้วยให้ออกมาดู abstract แทนภาพประกอบในการสื่อสารแบบทั่วๆไปที่เราคุ้นเคย

การใช้ตัวอักษรเขียนชื่อไอศครีมเป็นลายมือ ดูแล้วทำให้รู้สึกถึงความ craft ซึ่งก็สะท้อนตัวตนของ Guss Damn Good ได้เป็นอย่างดี


FALLING IN FALL :
มีสองความหมาย คือ ตกหลุมรักฤดูใบไม้ผลิ หรือ เมาจะล้มลงไปก็เป็นได้!! เรื่องเกิดเมื่อปี 2017 ตอนไปเจอเมเปิ้ลที่ถูกแช่ในถังเหล้าbourbon ที่งานแฟร์นิวยอร์ค พอได้ชิม ได้คุยกับเจ้าของฟาร์มเมเปิ้ลแถบ New England.. ภาพในหัวตอนไปทริปดูใบไม้ผลิกับเพื่อนๆก็ลอยมา รอบตัวมีแต่ใบไม้สีเหลืองทอง อากาศเย็นสบาย มีเมเปิ้ลที่กลั่นจากต้นที่ Vermont ภาพทำอาหารกินดื่มกันสนุกสนานในกระท่อมกลางป่า ทั้งหอมหวาน มึนเมา และสวยงาม

เครดิตข้อความบางส่วนและภาพประกอบจาก www.facebook.com/gussdamngood

SLEEPY POTION : Horlick / Malt : Milky Malty Creamy รสนี้สำหรับคืนนี้ 🙂
ภาพเขียนแวนโก๊ะ นิทาน Starry Starry Night คือจุดเริ่มต้นของรส Sleepy Potion พวกเราอยากจะนอนดูดาวแล้วหลับไปเลย แต่อยู่ในเมือง ไม่มีดาวและนอนไม่หลับ!! เราไปเจอวิจัยบอกกินฮอลิคแล้วหลับสบาย เลยลองทำรส Sleepy Potionดู และเพิ่มวานิลลาบีนส์ลงไปอีก ยิ่งหอม ละมุน และทำให้ฮอลิคชัดขึ้น

เครดิตข้อความบางส่วนและภาพประกอบจาก www.facebook.com/gussdamngood

และอีกกลยุทธ์นึงที่เราแอบชื่นชมมาตลอด นั่นก็คือการ X (collab) กับแบรนด์ต่างๆ
หากเหลือบไปมองด้านบนของบางรสชาติจะเห็นว่ามี logo ของแบรนด์ต่างๆแปะอยู่ ซึ่งเป็นรสชาติที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแบรนด์นั้นๆ
การที่ Guss Damn Good ได้คิดรสชาติไอศครีมเฉพาะให้แก่แบรนด์หรือโครงการต่างๆ เป็นเหมือนการช่วยสื่อสารตัวตนของแบรนด์ออกมาในอีกมิติหนึ่ง ที่ลูกค้าสามารถสัมผัสได้ผ่านการกินนั่นเอง

นอกจากความเพลิดเพลินในการอ่านชื่อและส่วนผสมเพื่อหาความสัมพันธ์ของมันแล้ว การ collab นี้จะทำให้เราได้รู้จักแบรนด์ ผ่านความสัมพันธ์ของชื่อนั้นกับแบรนด์ที่แปะอยู่บนฝาอีกด้วย เช่น

The Standard : The Will to Win : ginger+caramel crunch : creative refreshing / feisty

“Champion Mindset คือวิธีคิดของผู้ที่อยากประสบความสำเร็จ เพราะหัวใจสำคัญของการทำงานในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ทุกคนต้องไม่หยุดเรียนรู้ สำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองและพร้อมพัฒนาอยู่เสมอ มองโลกในแง่บวก และสนุกสนานไปกับการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ……ไอศกรีมรสชาติ Ginger Caramel Crush ไอศกรีมที่มี ‘ขิง’ เป็นส่วนผสมหลัก ให้รสชาติเผ็ดร้อนที่ปลายลิ้น กระตุ้นความตื่นตัว ไม่หยุดนิ่ง ผสานกับเนื้อคาราเมลคลัช เคลือบดาร์กช็อกโกแลตที่เคี้ยวสนุก พร้อมรสขมและหวานที่ผสานลงตัว เปรียบเหมือนกับเส้นทางการทำงานที่บางครั้งมีอุปสรรค แต่ท้ายที่สุดทุกบทเรียนเสริมให้เติบโตและทำให้ชีวิตกลมกล่อมมากยิ่งขึ้น”

เครดิตข้อความบางส่วนและภาพประกอบจาก  https://thestandard.co/guss-damn-good-the-will-to-win/

Deloitte : In Good Hand : Burnt Vanilla Pistachio

“เราตัดสินใจทำออกมาเป็นรส burnt vanilla ความขม smoke นิดๆ สื่อถึงความเท่ จริงจัง professional ของ Deloitte ความหอมหวานคุ้นเคยของวานิลลา ทำให้รสนี้ไม่เกร็ง เข้าถึงได้กับทุกคน เราทำ candied pistachio เป็นตัวแทนของ green dot ที่มีความสนุกพอดีๆ เคี้ยวได้กรุบๆ ตัดกับความขม smoke ของ burnt vanilla ได้ลงตัว ชื่อรส In Good Hands เป็นข้อความที่ Deloitte อยากส่งถึงพนักงานและลูกค้า เป็นคำความหมายบวกๆ บอกถึงความ caring ความสบาย และความสุข”

เครดิตข้อความบางส่วนและภาพประกอบจาก www.facebook.com/gussdamngood

Guss Damn Good X MINI : 1959

ชื่อรสว่า 1959 คือรสชาติแห่งปี 1959 เป็นปีที่ MINI ถือกำเนิดขึ้น “..เลยย้อนไปถึงปี 1959 ปีที่มินิเริ่มต้น มองเข้าไปถึง identity ของมินิ ความ original ความเป็นตัวของตัวเอง และ passion ที่อัดเข้ามาในตัวตนและกลิ่นอายของมินิทุกคัน บวกกับความเท่และความวินเทจ เราจึงเลือก dark beer มาเป็นเบสไอติม ยอมรับว่าทำยากมากก กินเบียร์ไปเยอะมาก กว่าจะเจอรสที่ใช่ กลิ่นที่ใช่ ทำเอามึนกันทั้งทีม เราเอา cacao nibs มาเพิ่มความช็อคโกแล็ต ให้มีมิติขึ้น และยังคงความเท่อยู่”

เครดิตข้อความบางส่วนและภาพประกอบจาก www.facebook.com/gussdamngood
คิดๆไปนี่เหมือนพื้นที่โฆษณาแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่แค่คนได้อ่านได้มอง แต่สามารถได้เข้ามาสัมผัส มามีประสบการณ์ผ่านรสชาติ ซึ่งเราเชื่อว่าการที่ Guss Damn Good ได้รับความสนใจจากแบรนด์ต่างๆ ไม่ใช่เพียงเพราะทำไอศครีมได้อร่อย แต่เป็นเพราะความสามารถในการสื่อสารที่เราได้เล่าไปข้างต้นด้วย

ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ Guss Damn Good จะสามารถแปลเรื่องราวของแบรนด์ต่างๆที่ร่วม collab กัน ให้ออกมาเป็นรสชาติเฉพาะของแบรนด์ และชื่อรสชาติที่ช่วยสื่อสาร Brand Character รวมไปถึงการตีความ story ที่มาที่ไป ออกมาเป็นรสชาตินั้นๆ เป็นการย้ำให้คนได้รู้จัก เห็นภาพชัด และสนิทใกล้ชิดขึ้นกับแบรนด์เหล่านั้น

นอกจากแบรนด์ต่างๆจะได้ช่องทางการสื่อสารเพิ่มเข้ามาอีกทางแล้ว ยังได้ภาพลักษณ์ของ Guss Damn Good เข้าไปช่วยเสริมให้แบรนด์นั้นๆ ดูมี character ที่สร้างสรรค์ กล้าคิด และกล้านำเสนอสิ่งใหม่เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีกว่าอีกด้วย

.
.
ชื่นชมจากใจ 🙂

Tanatta Koshihadej

Service Design Director, the Contextual และ อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Learn more about our services.

SERVICE MENU